history

{text}
 
การ์ตูนไทย
           เมื่อพูดถึงการ์ตูนในฐานะศิลปะลายเส้น (Graphic art) จะถือได้ว่ามีภาพการ์ตูนมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
           โดยมี “ขรัวอินโข่ง” เป็นจิตรกรเอก ซึ่งภาพของขรัวอินโข่งเป็นภาพฝาผนังแบบเหมือนจริง (Realistic) และ
            จะสอดแทรกอารมณ์ขันและล้อเลียนผู้คนในยุคนั้น ซึ่งน่าจะถือว่าเป็นลักษณะภาพการ์ตูนได้ แต่ในยุคนั้นยังไม่มี
            การบัญญัติศัพท์ การ์ตูน ทำให้ไม่มีการบันทึกว่าการ์ตูนเริ่มมีในเมืองไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

            ประวัติศาสตร์การพิมพ์ของไทยเริ่มต้นในปลายรัชกาลที่สาม โดยหมอชาวอเมริกันที่ชื่อ แดน บิช บรัลเล
            ( Dan Beach Bradley) หรือชื่อที่คนไทยคุ้นเคยว่า หมอบรัลเล หมอบรัลเลเป็นผู้ริเริ่มนำแท่นพิมพ์มาใช้ในใน
             กรุงสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2378 โดยในยุคแรกจะพิมพ์เป็นหนังสือสอนศาสนา

             ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 ได้เริ่มมีการพิมพ์นิทานไทยขายกันอย่างแพร่หลาย เช่นเรื่อง จันทโครพ พระอภัยมณี
             ขุนช้างขุนแผน เป็นต้น ต่อมาเริ่มมีโรงพิมพ์เอกชนเพิ่มขึ้น และในปี 2464 ได้เกิดนิตยสารสำหรับเด็กเล่มแรก
             คือ “เด็กไทย” ซึ่งเป็นของโรงพิมพ์เอกชน และหลังจากนั้นก็มีการผลิตหนังสือสำหรับเด็กอย่างแพร่หลาย
            โดยจัดทำคล้ายคลึงกับแบบเรียนของการ์ตูนศึกษาธิการซึ่งมีการใช้รูปภาพประกอบ นั่นคือยุคเริ่มของหนังสือ
             การ์ตูนไทย

            ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงสนพระทัยการวาดภาพมาก ทรงวาดภาพล้อและตักเตือนบรรดาข้าราชการที่ประพฤติ
             ตนไม่ดี แล้วตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” พระองค์ทรงส่งเสริมการวาดภาพล้ออย่างจริงจังถึงกับโปรดให้
             มีการประกวดภาพสมัครเล่นในวัง ภาพการ์ตูนในยุคนั้นจึงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง นักวาดภาพล้อที่มีชื่อเสียงใน
             ยุคนี้คือ เปล่ง ไตรปิ่น ซึ่งได้เดินทางไปศึกษาศิลปะที่ยุโรปและได้รับอิทธิพลการวาดภาพล้อเลียนมาจากต่างประเทศ
             ชื่อเสียงของ เปล่ง ไตรปิ่น โด่งดังมากถึงกับได้รับบรรดาศักดิ์จาก ร. 6 เป็น “ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต”

             ภาพการ์ตูนในยุคต้นมักจะเขียนเป็นภาพลายเส้นที่เก็บรายละเอียดทุกแง่ทุกมุม มีแม้กระทั่งแสงเงา จะมีการบรรยาย
            เชิงขำขันประกอบ ยังไม่ค่อยมีลักษณะและลีลาของการ์ตูนอย่างแท้จริงนัก จึงนับว่าภาพการ์ตูนยุคต้นนั้นเป็นภาพ
            การ์ตูนวิจิตรมากกว่า ในรัชกาลที่ 7 การ์ตูนเริ่มซบเซาเพราะความตกต่ำทางเศรษฐกิจ จนกระทั่ง เกิดการปฏิวัติการ
            เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 วงการการ์ตูนเริ่มคึกคักขึ้น มีเสรีภาพในการแสดงออกเต็มที่ จน “คณะราษฎร์”
            ต้องออกกฎหมายควบคุม เรื่องราวที่นำมาเขียนเป็นการ์ตูนไทยในยุคแรกๆ ต่างนิยมหยิบยกมาจากวรรณคดีไทย
            นิยายพื้นบ้านเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ เป็นการ์ตูนใส่ชฎา เช่นเรื่อง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน จันทโครพ สังข์ทอง ฯลฯ

             การ์ตูนเรื่องใดได้รับความนิยมก็จะนำมาพิมพ์รวมเล่ม เมื่อนักเขียนได้เขียนเรื่องวรรณคดีไทยมากขึ้นจนล้นตลาดแล้ว
             ก็ได้หันมาแต่งเรื่องเองบ้าง แต่ก็ยังรับเอาโครงเรื่องมาจากการ์ตูนฝรั่ง และเป็นที่ต้องการของตลาดขณะนั้น
             แต่ก่อนนักเขียนการ์ตูนคนไหนที่ฝีมือดีก็จะถูกดึงตัวไปอยู่ค่ายต่างๆ รายได้ สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งสมัยนั้น
             นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง อาทิเช่น คุณสวัสดิ์ จุฑะรพ (ขุนหมื่น), คุณฟื้น รอดอริห์ (เดช ณ. บางโคล่), เฉลิม วุฒิโฆสิต
             เหม เวชกร ฯลฯ

นักเขียนไทย
อดิเรก อริยมงคล

             คุณอดิเรกเป็นผู้วาดการ์ตูนเรื่อง หนูเล็ก ลุงโกร่ง ซึ่งเป็นการ์ตูนยอดนิยมในยุคอดีต โดยตัวการ์ตูนจะถอด
             แบบมาจากการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์ เช่น หนูเล็ก จะถอดแบบมาจาก มิกกี้เมาส์ และลุงโกร่งจะถอดแบบมา
             จากกูฟฟี่

การ์ตูนไทยใครว่าด้อยกว่าต่างชาติ

พิมล กาฬสีห์

             คุณพิมลเป็นนักเขียนการ์ตูนที่รู้จักกันดีในนามปากกา “ตุ๊กตา” คุณพิมลเริ่มเขียนภาพประกอบให้กับหนังสือ
             สยามสมัยของ อารีย์ ลีวีระ การ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกคือเรื่องระเด่นลันได คุณพิมลจะใช้นามปากกาว่า
             “ตุ๊กตา” ในการวาดภาพทุกครั้ง ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อเล่นของลูกสาวคนโต และในปี 2495 ได้ออกหนังสือ ตุ๊กตา
              ซึ่งเป็นหนังสือสำหรับเด็ก ตัวละคร 4 ตัวเป็นตัวชูโรง คือ หนูนิด หนูไก่ หนูหน่อย และหนูแจ๋ว เป็นพี่น้องกัน

พิกุล ทองน้อย

             คุณพิกุล ทองน้อย หรือที่รู้จักกันในนามปากกา พ. บางพลี การ์ตูนที่ พ.บางพลี เริ่มวาดคือ การ์ตูนชุดเด็ก
             สามเกลอ กับเรื่องเสือใบ การ์ตูนที่สร้างชื่อคือเรื่อง อัศวินสายฟ้า เริ่มวาดตั้งแต่ปี 2500 เป็นเรื่องราวเกี่ยว
             กับความใฝ่ฝันของเด็กชายง่อยเปลี้ยเสียขาคนหนึ่ง แต่แล้วกลับกลายมาเป็นมนุษย์อภินิหารผู้ปราบยุคเข็ญ
             ของแผ่นดิน ต่อมาปี 2504 เขียนเรื่องเจ้าชายลิ้นดำ และในปี 2506 เขียนเรื่องขุนขวานทมิฬ
              การ์ตูนที่สร้างชื่อเสียงของ พ.บางพลีไม่ได้มีเพียงแค่นี้ แต่ยังมีเรื่องสงครามล้างโลก น้องศรีธนญชัย
              การผจญภัยของนักเรียนสาวกับนากแสนรู้ ฯลฯ

อ. ปยุต เงากระจ่าง วอลท์ดิสนีย์เมืองไทย

อ.ปยุต เงากระจ่าง

             คุณปยุต เงากระจ่างเป็นนักเขียนการ์ตูนที่หันมาทำหนังการ์ตูนซึ่งสื่อมวลชนต่างก็ยกย่องให้เขาเป็น “วอลท์
             ดิสนีย์เมืองไทย” หนังการ์ตูนเรื่องแรกที่อาจารย์ปยุตทำในปี พ.ศ.2498 คือ เรื่อง “เหตุมหรรศจรรย์”
             เป็นหนังการ์ตูนสี 16 มม. ยาว 20 นาที ซึ่งในขณะนั้นญี่ปุ่นยังไม่มีหนังการ์ตูนออกฉายเลย แต่การ์ตูน
             เรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จเรื่องรายได้เพราะ คนไทยไม่เห็นคุณค่า หลังจากการ์ตูนเรื่องเหตุมหรรศจรรย์แล้ว
              อาจารย์ปยุตก็ทำเรื่อง “หนุมานผจญภัย” ในปี 2500 และในปี 2502 ก็สร้างเด็กๆกับหมี และ ร่วมกับคุณ
              สรรพสิริ วิริยะสิริ สร้างภาพยนตร์การ์ตูน “หนูหล่อ” จนกระทั่งปี 2522 หนังการ์ตูนไทยเรื่องสุดท้ายที่ปรากฎ
              สู่สายตาคนไทยคือเรื่อง “สุดสาคร”

              ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มมีนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่หลายคน เช่น คุณพิมน กาฬสีห์ (ตุ๊กตา)
               สงบ แจ่มพัฒน์ (แจ๋วแหวว) ประยูร จรรยาวงษ์ (ศุขเล็ก) ในช่วงทศวรรษสุดท้ายก่อนพ.ศ. 2500
               มีนิตยสารการ์ตูนเกิดขึ้นหลายฉบับ ทำให้เปรียบเสมือนเป็นสนามให้นักเขียนได้ประลองฝีมือกัน




แนะนำติชม ติดต่อ ผู้ดูแลเว็บ Chawaratc@yahoo.com
copyright © 2003
by www.mixcartoon.cjb.net Allrights reserved